วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กลยุทธ์การโค้ชเพื่อพิชิตเป้าหมาย

ได้ฤกษ์งามยามดีหยิบหนังสือแปลเล่มนี้มาอ่านจนจบ
เป็นอาหารสมองยามเช้าวันจันทร์
"Coaching for Performance" โดยผู้แต่ง John Whitmore ผู้แปล วุฒินันท์ ชุมภู
ได้กล่าวว่า ...
- การเปลี่ยนสภาพโดยการโค้ชเพื่อผ่านพ้นตัวตน ที่เน้นในหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเจตจำนง
ความตั้งใจหรือสำนึกรับผิดชอบเดินด้วยศาสตร์ด้านจิตวิทยาการผ่านพ้นตัวตน (Transpersonal Psychology)
- คนเป็นโค้ชมีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำอย่างยิ่ง ที่ต้องตระหนักรู้ความจริงในตัวเองและผู้อื่น รวมถึงต้องให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ : Emotional Intelligence) และความฉลาดทางจิตวิญญาณ (SQ : Spiritual Intelligence)
- อนาคตของการโค้ชคือบทบาทในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงาน รวมทั้งบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างความยั่งยืนเชิงคุณภาพ
- การเป็นโค้ชเป็นการบ่มเพาะคนให้เติบโตด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาคนที่เกิดมาจากข้างในใจตนเอง ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความหวดกลัวมาเป็นกระบวนทัศน์แหงความไว้เนื้อเชื่อใจ พัฒนาคนให้ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองทั้งทางด้านสังคมและจิตใจ

#การโค้ชมุ่งความสนใจไปในสิ่งที่จะเป็นไปได้ในอนาคตมากกว่าเรื่องความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา
#แก่นแท้ของการโค้ชคือการปลดปล่อยศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนออกมาเพื่อให้สามารถสร้างผลงานที่ดีที่สุดได้ด้วยตนเอง
#หากอยากโค้ชให้ได้ผลเราก็จะต้องรู้จักเรื่องความสามารถที่สงบนิ่งอยู่ในตัวของคนทุกคนเข้าใจในแง่มุมที่ดีกว่าที่เคยเป็นมา



...
ชีวิตยังเดินต่อไป
เมื่อหยิบหมวก "โค้ช" มาสวมใส่
เมื่อสมองปรองดองกับหัวใจ
@CoachJeep



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มุมมองใหม่

โดยมาก เราไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่ใช่เพราะเรา ไม่อยากเปลี่ยน
แต่เป็นเพราะเราขาด... "มุมมองใหม่"
ที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนมุมมอง
ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเรา
มุมมองใหม่ ... จะช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์จากหลายแง่มุม
ใช้ทั้ง ความรู้สึก ความคิด และสัญชาตญาณ
ของตัวเอง ในการลงลึกและเปิดกว้างมากขึ้น
ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด
จงใช้จินตนาการ
และฟังเสียงสัญชาตญาณภายใน


...
ชีวิตยังเดินต่อไป
@Coach Jeep
>>Mindfulness Training & Group Coaching with M-THAI
>>Psycho Talk with Positive Psychology

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Story telling for Coaches เล่าอย่างไรให้ได้เรื่อง : ตอน 2

#เป็นเรื่องเล่าของน้องสาวผู้น่ารัก  Thita Phatwarawisit  
#ขออนุญาตแบ่งปัน เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมไทยโค้ชด้วยความเป็นกัลยาณมิตร

11 June 2016
รวมพลคนไทยโค้ช ครั้งที่ 1
ตอน Story telling for Coaches เล่าอย่างไรให้ได้เรื่อง
โดย โค้ชอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
วันนี้พี่น้องชาวไทยโค้ช พร้อมใจมารวมพลกันเพื่อเรียนรู้การเล่าอย่างไรให้ได้เรื่อง กับ โค้ชอภิวุฒิ story teller ขั้นปรมาจารย์
ทำให้ได้เรียนรู้หลายสิ่งอย่างที่รู้สึก wow อยู่เรื่อยๆ เช่น
- เหตุผลที่การโค้ชต้องใช้คำถาม (ไม่แนะนำ) เพราะเรื่องต่างๆที่เราได้ฟังจากโค้ชชี่เป็นเพียงบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตเค้า และได้ผ่านตัวกรอง (filter) ของเค้ามาแล้ว หากโค้ชแนะนำตามสิ่งที่ได้ยิน อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
- เหตุผลที่คนเก่งที่ประสบความสำเร็จในการงานหลายๆคน ไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นโค้ช ประการหนึ่งคือ คนเก่งไม่เข้าใจว่า "ทำไมคนไม่เก่งถึงไม่เก่ง"
- การโค้ชเป็นธุรกิจบอกต่อ (referal) ซึ่งองค์กรจะสนใจเรื่องของ process ในการโค้ช, chemistry check และ personal reference เป็นลำดับต้นๆ
- การเล่าเรื่องมีประโยชน์ในกระบวนการโค้ชหลายๆส่วน เช่นระหว่างทำ chemistry check, build rapport etc..
- คนชอบฟังเรื่องเล่า เพราะเรื่องเล่าทำให้สมองหลั่งสาร oxytocin ทำให้คนรู้สึกเห็นอกเห็นใจ (empathy) หรือ อินนนนมาก
- Aristotle เป็นครูที่สอนการเล่าเรื่องคนแรก ได้กล่าวว่าการเล่าเรื่องให้สนุกต้องเริ่มจาก suffering (ระทม) struggling (รันทด) Turning (ระทึก) และจบด้วย Happy ending (รอดทุกข์)
- จุดสังเกตว่าเรื่องที่เล่าไป ดีหรือไม่คือ ให้สังเกต reaction ของผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังอาจตอบว่า แล้วไง? เมื่อไม่สนใจ หรือ แล้วไงต่อ? เมื่อสนใจอยากรู้
- นักเล่าเรื่องที่ดีควรเป็นตัวของตัวเอง ไม่เอาเรื่องของคนอื่นมาเล่าว่าเป็นเรื่องของตน ใช้จังหวะในการเล่าที่เหมาะสม และฝึกเล่าบ่อยๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติในการเล่า และที่สำคัญต้องเชื่อในเรื่องที่เลือกมาเล่าด้วย
- และสุดท้าย ไม่ว่าจะทำอะไรไม่จำเป็นต้องรอให้มีความพร้อมซะก่อน..เมื่อไม่พร้อมให้เริ่มเลย 👍🏻
ขอขอบพระคุณโค้ชอภิวุฒิ ที่แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้พวกเราอย่างสนุกสนาน ขอบคุณพี่แก้ว พี่โชติ พี่โต พี่โจ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการเล่าเรื่องให้พวกเราได้รับชม ขอบพระคุณมากค่ะพี่น้องชาวไทยโค้ชทุกท่านที่เรียนรู้ร่วมกันค่ะ 😊

Story Telling for Coaches : เล่าอย่างไรให้ได้เรื่อง : ตอน1

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2559 มาร่วมงาน "รวมพลคนไทยโค้ช ครั้งที่ 1"
ตอน "Story Telling for Coaches : เล่าอย่างไรให้ได้เรื่อง" โดย โค้ชอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา
ขอเล่าเรื่องในบทเรียน
ครูคนแรกที่สอนการเล่าเรื่อง (The First Storytelling Teacher) คือ
Aristotle - Greek Philosopher (384-322BC)
เรื่องเล่าที่สนุก เดินด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ระทม -Suffering
รันทด -struggling
ระทึก -Turning
รอดทุกข์ -Happy Ending

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คุณสมบัติของนักสื่อสาร

ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เราจำเป็นต้องเรียนรู้และชำนาญใน 2 ทักษะ
การสื่อสาร ... เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันกับเรา
การประสานงาน ... เพื่อให้ได้งานตามเป้าหมายขององค์กร

พลังของความคิดบวกจะทำให้เราเข้าใจ
และยอมรับคนอื่นมากขึ้น โดยผ่านการสื่อสารสร้างสัมพันธ์
พลังในการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ
มาจากทักษะในการสื่อสาร และแรงจูงใจที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ร่วมกันแบบ win-win

นักสื่อสารที่นำเสนอความคิดเพื่อจูงใจคนอื่น มีคุณสมบัติดังนี้
1. แม่นในเนื้อหา เนื้อหาที่มีประโยชน์
2. วิธีการที่ดึงดูดความสนใจ
3. รูปแบบที่สร้างภาพจดภาพจำ
4. กระตุ้นให้เกิดความเห็นพ้องที่คล้อยตาม


                                              (ขอบคุณภาพสวยๆ จากสื่อออนไลน์)

...
ชีวิตยังเดินต่อไป
@Coach Jeep
>>Mindfulness Training & Group Coaching with M-THAI
>>Psycho Talk with Positive Psychology